Last updated: 16 มิ.ย. 2561 | 1431 จำนวนผู้เข้าชม |
ในปัจจุบันอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นมากมาย จากปริมาณยานพาหนะที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ประสบเหตุ มักเป็นผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์มากกว่าผู้ที่ขับขี่รถยนต์ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะปี 2559 ที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุนับพันๆ ครั้ง สถิติสูงกว่าปี 2558 มีผู้เสียชีวิตกว่า 250 กว่าราย สาเหตุหลักคือ เมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด เหมือนเดิม ทั้งๆ ที่มีด่านตรวจจับแทบทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 2,103 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,466 คน เรียกตรวจพาหนะ 634,372 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี 96,635 ราย สาเหตุมักมาจากความประมาทคึกคะนอง ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมา ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ แบบย้อนศร ย้อนเส้นทาง การขับขี่ยานพาหนะฝ่าไฟแดง ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ ไม่สวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค เป็นต้น
รู้จักหมวกกันน็อค
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในรายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ มีสาเหตุ เกิดมาจากการได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง ที่ศีรษะ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมที่สุด ในการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุนี้ ก็คือ “หมวกกันน็อคหรือหมวกนิรภัย” เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ จะช่วยให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ มีความปลอดภัยมากขึ้น หรือช่วยลดความรุนแรง ของการบาดเจ็บที่ศีรษะลง นั่นเอง
หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค มีลักษณะคล้ายกระโหลก กลม ผิวแข็งเรียบ ส่วนใหญ่ผลิตจาก วัสดุประเภทพลาสติก ที่เรียกว่า เอบีเอส ซึ่งย่อมาจาก อะคริโลไนตริล บิวตะไดอีน สไตรีนโพลีเมอร์ นอกจากนี้ยังมีการเติมสารที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น เติมสารลดการติดไฟ เพื่อป้องกันการติดไฟของเปลือกหมวกกันน็อค ในกรณีที่นักซิ่งขาโจ๋ทั้งหลาย ล้มคว่ำข้าวเม่าแล้วเอาหัวครูดไปกับพื้นถนน เพื่อเป็นการวัดความแข็งแกร่งของศีรษะตนเอง หากไม่มีสารประเภทนี้ผสมอยู่ หมวกกันน็อคอาจลุกเป็นไฟ คลอกเข้าที่หัว และใบหน้าจนเสียโฉมหรือถึงแก่กรรมไปสู่ทุคติได้ในที่สุด
หมวกกันน็อคนั้น ทางผู้ผลิตจะทำให้มีสีสันที่สวยงาม เน้นสีเข้มสดหรือมีแถบสีที่สะท้อนแสง เพื่อให้มองเห็นหัวได้ในระยะไกล นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันอันตรายแก่ผู้สวมใส่ เช่น รองในหมวก กระบังหน้า สายรัดคาง แผ่นปิดหู แผ่นปิดหลังและคอ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรสวมใส่หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในการป้องกันอันตราย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากในปัจจุบัน พบว่ามีการใช้หมวกกันน็อคที่ไม่ได้มาตรฐาน มาสวมใส่กันอย่างดาษดื่น ซึ่งสิ่งที่นำมาสวมนั้นอาจเรียกได้ว่า หมวกกันน็อค หรือหมวกนิรภัย ได้ไม่เต็มที่นัก เพราะมีลักษณะเหมือนที่ครอบศีรษะเพื่อป้องกันการตรวจจับของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น และสิ่งนี้คงจะไม่สามารถ
28 มี.ค. 2560
28 มี.ค. 2560