Last updated: 29 มิ.ย. 2561 | 6949 จำนวนผู้เข้าชม |
เคยสังเกตไหมว่า บางมื้อหรือบางวัน หากเราไม่ได้รับประทานอาหารหรือไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและจำเป็นต่อร่างกายนั้น เรามักจะมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย หรือหน้ามืดไดด้ง่าย บางคนอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งเมื่อร่างกายขาดอาหารนั้น แน่นอนว่าจะมีกลไกการทำงานของระบบร่างกายที่เปลี่ยนไป เรามาดูกันซิว่าเมื่อเราขาดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมร่างกายจะมีกลไกการทำงานอย่างไรกันบ้าง
12 ชม.
ใน 3-4 ชม.แรก ร่างกายจะดึงพลังงานจากอาหารมื้อล่าสุดที่กิน เพื่อเอามาใช้งานก่อน หลังจากนั้นถ้าพลังงานตรงนี้หมด จะไปดึงพลังงานส่วนไกลโคเจนมาใช้แทน (ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือดึงพลังงานจากคาร์บที่อยู่ในกระแสเลือดมาใช้นี่แหละ) ตอนนี้ถือว่ายังชิวๆ ยังสบายๆ อยู่
24 ช.ม (1 วัน)
พอครบ 24 ชม. ร่างกายจะเริ่ม โหยๆ เพลียๆ นิดหน่อย ท้องจะเริ่มส่งเสียงร้องระงมว่าต้องการอาหาร ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น ความดันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พอไกลโคเจนในเลือดหมดแล้ว คิวต่อไปที่ร่างกายจะดึงพลังงานมาใช้ก็คือกลูโคสหรือน้ำตาลส่วนที่เล็กที่สุดในร่างกายนั่นเอง หลักๆ จะดึงกลูโคสไปใช้งานกับสมองก่อน เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
36 ชม.
ตอนนี้ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง อันนี้ลดลงเป็นปกติ เพราะว่าไม่มีสารอาหารประเภทคาร์บหรือไขมันตกถึงท้องเลย ถ้ากลูโคสหมด ร่างกายจะดึงโปรตีนมาใช้ต่อ หรือถ้าไม่พอก็จะเริ่มดึงเริ่มดึงไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังมาใช้เผาแทนแล้วล่ะ ผิวหนังจะเริ่มซีดลง ลิ้นแห้งและอาจมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นบริเวณลิ้น เริ่มมีกลิ่นปากที่รุนแรงขึ้น เพราะของเสียจากการเผาไขมันจำพวกคีโตนทำให้มีกลิ่นที่รุนแรง
48 ชม. (2 วัน)
ครบสองวัน ตรงนี้ตาจะเริ่มอ่อนแรง อาจมีอาการแทรกเช่นการปวดหัว หรือรู้สึกว่าการขยับร่างกายไปมามันหนักมาก (ไม่มีแรงนั่นแหละ พูดง่ายๆ) ร่างกายจะขุดไขมันสะสมมาใช้อย่างจริงจัง ปกติไขมันสำรองของคนทั่วไป มักจะสามารถถูกเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานต่อไปได้อีกอย่างน้อย 60-80 ชม. ใครที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีไขมันสะสมเยอะก็จะอยู่ได้นานขึ้น
60 ชม.
เข้าวันที่สาม ความหิวเราจะลดลงอย่างน่าแปลกใจ ตอนนี้ร่างกายจะเริ่มดึงทั้งไขมันและดึงกล้ามเนื้อมาเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ เป็นจังหวะที่ร่างกายเราจะเริ่มปรับตัวได้แล้ว ถ้ายังมีน้ำกินอยู่ ตอนนี้จะรู้สึกตัวเบาๆ หน่อย และค่อนข้าง Active เป็นพิเศษได้อีกหลายวันหน่อย มันเป็นกลไกธรรมชาติเหมือนสั่งให้เราห้ามตาย และพยายามลุกออกไปไปหาอาหารมาเติมลงกระเพาะให้ได้
72 ชม. (3 วัน)
อย่างที่บอกว่าร่างกายเราจะยังค่อนข้างตัวเบาๆ โหวงๆ อยู่ อาจจะมีวูบๆ บ้างเวลาลุกเร็วๆ เพราะน้ำตาลในเลือดเราลดลงอย่างฮวบฮาบ รวมถึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานแทน
90 ชม. ขึ้นไป
ตรงนี้เริ่มน่าเป็นห่วงเล็กน้อย เพราะปกติแล้วเราจะกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารต่างๆ แต่พอเราขาดคาร์บจากการกิน ร่างกายเราเลยไปทำปฎิกิริยากับโปรตีนและไขมันในเส้นเลือด ทำให้เลือดในร่างกายเริ่มค่อยๆ เสียไปเรื่อยๆ ทีละน้อยๆ ส่วนการดำรงชีพก็ยังคงดึงชั้นไขมันมาใช้ได้อยู่เหมือนเดิมอย่างที่บอก
สรุป
จุดวิกฤตคือประมาณ 7-10 วัน ร่างกายเคย Active หรือกระปรี้กระเปร่า ก็จะเริ่มหมดเรี่ยวแรงไม่สามารถขยับไปไหนได้แล้ว อวัยวะภายในตับไตเริ่มพังทีละส่วน เนื่องจากเลือดเป็นพิษอย่างที่บอก ถ้าเลือดเป็นพิษถึงระดับ 30% ของเลือดในร่างกายทั้งหมดก็จะเป็นจุดที่อันตรายที่สุดแล้ว เพราะทำให้มีสารพิษวิ่งเข้าสู่สมองได้ นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของจริง
แต่หากเราสามารถนอนหลับได้ การไม่รับรู้ถึงแสงสว่างภายนอกอาจจะทำให้วงจรการนอนหลับเปลี่ยนไป ขอให้รู้ไว้เลยว่าแสงมีอิทธิพลกับสมองเราเยอะมาก สังเกตได้จากเวลามีสุริยุปราคาแล้วสัตว์บินกลับรัง มนุษย์เราก็เช่นกัน หากไร้นาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลา ยามอยู่ที่มืดนานๆ ร่างกายเราก็บอกให้ตัวเองเน้นพักผ่อนมากกว่าทำงาน ฉะนั้นระดับการเผาผลาญพลังงานจะยิ่งลดลงกว่าเดิมเข้าไปอีก มีพลังงานสำรองเหลือเฟือให้ใช้อีกหลายวัน
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจหมอเวร
25 เม.ย 2566
28 เม.ย 2566
11 เม.ย 2566