โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational Anxiety)

Last updated: 16 มิ.ย. 2561  |  1964 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational Anxiety)

ทราบหรือไม่่ คุณอาจกำลังเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ 
          โรควิตกกังวลหรือที่หลายคนคิดเองว่าเป็นอาการวิตกกังวลทั่วไป จริง ๆ แล้วมีอยู่หลายพฤติกรรมที่เราทำจนชิน และพฤติกรรมนั้นก็เข้าข่ายโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งควรต้องพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาความกังวล ความเครียด สองความรู้สึกนี้ดูเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตของคนในยุคนี้ไปซะแล้ว จนบางครั้งเราเองมีความกังวลใจบางอย่าง ก็คิดไปว่าเป็นความกังวลทั่ว ๆ ไป ทว่าหากอาการวิตกกังวลกระทบถึงชีวิตประจำวันและสุขภาพเมื่อไร เมื่อนั้นทางจิตแพทย์จะเรียกว่า โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง และแบ่งแยกชนิดของโรควิตกกังวลได้ถึง 12 โรคด้วยกัน ทว่าที่พบบ่อยในไทยและในสังคมยุคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด อาทิเช่น โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational anxiety) 1 ใน 8 ชนิด 

โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational anxiety)

          เชื่อไหมคะว่าคนเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์กันเยอะมาก แต่กว่า 80% ไม่คิดว่าเป็นอาการป่วย เพราะความกังวลต่อสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่น กังวลว่าจะเจอรถติด กังวลว่าจะต้องไปเดินในที่ที่มีคนเยอะ กังวลว่าต้องรออะไรนาน ๆ แล้วเกิดอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องไปเจอสถานการณ์ดังกล่าว บางคนมีอาการใจสั่น มือเย็น หน้ามืด ท้องไส้ปั่นป่วน หายใจแรงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งหากมีอาการทางกายร่วมกับความวิตกกังวลนี้ ทางจิตแพทย์จะถือว่าเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์

          โดยส่วนมากแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากประสบการณ์ที่ต้องไปเจอสถานการณ์อันส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ ตลอดจนเกิดความเครียดหลาย ๆ ครั้ง เจอบ่อยจนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความตึงเครียด ทั้งที่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ไม่ส่งผลทางกายและใจต่อบุคคลอื่น แต่ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ จะรู้สึกกังวลและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้อาการวิตกกังวลต่อสถานการณ์ยังรวมถึงกรณีที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นในชีวิตด้วยนะคะ เช่น กำลังจะแต่งงาน กำลังจะมีลูก จึงรู้สึกคิดมาก วิตกกังวลไปหมด

เรามีวิธีการรักษายังไง?

ทางเลือกในการรักษาเริ่มที่การปรับเปลี่ยนที่ตัวเราเองก่อน รวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และยา ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าจิตบำบัดหรือยามีผลดีกว่า ดังนั้น ขึ้นอยู่กับคนไข้ว่าต้องการอะไร และโดยมากจะเลือกจิตบำบัดก่อน 

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมสุขภาพจิต

รามาชาเนล

คณะแพทย์ศาสต์ศิริราชพยาบาล

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้