Last updated: 1 ก.พ. 2565 | 1151 จำนวนผู้เข้าชม |
“แอปเปิ้ลที่อาบยาพิษ สวยแต่รูป หากทานไปก็นิทราตลอดชีวิต เหมือนบุหรี่ไฟฟ้าเห็นแต่ด้านดีเปลือกนอก แต่ถ้าเราเผลอลอง อาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัว”
ทุกวันนี้ เราจะพบเห็นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนที่ต้องการให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายและยังมีการให้ข้อมูลว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เราเลิกบุหรี่มวนได้ รวมถึงการให้ข้อมูลในแง่มุมที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีราคาถูกและอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างแน่ชัด
ในกรณีนี้เราขอยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบการบริโภคอาหาร “เราต้องการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มโดยการงดใช้น้ำปลาทั่วไปและหันไปใช้น้ำปลาที่มีปริมาณโซเดียมน้อย แต่ในทางปฏิบัติเรากลับเติมลงไปในเมนูอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่มากจนกว่าจะพอใจ ท้ายที่สุดก็จบที่ตรงเป็นโรคไต” บุหรี่ไฟฟ้าก็เช่นกัน “กิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย จะน้อยหรือมากก็คือการทานยาพิษเข้าสู่ร่างกาย” บุหรี่ไฟฟ้าใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารนิโคติน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดที่สำคัญที่ทำให้คนติดบุหรี่ แล้วถ้าเป็นแบบนี้ บุหรี่ไฟฟ้า จะช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้จริงหรือไม่ และยังมีของแถมคือ สารโพรไพลีนไกลคอล และกลีเซอรีน หากสูดดมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองปอดได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหอบหืดอีกด้วย
(มติชน, 2565)
ล่าสุดจากการวิจัยโดย ศ.เดวิด ธิคเก็ตต์ จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Thorax พบหลักฐานบ่งชี้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งพบว่า ละอองไอน้ำจากบุหรี่ไฟฟ้าไปหยุดยั้ง การทำงานของ “กลไกการป้องกันของปอด หรืออัลวีโอลาร์ มาโครเฟจ (alveolar macrophage)” ซึ่งเป็นเซลล์ที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตราย เช่น อนุภาคฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ยิ่งทำให้ปอดเกิดอาการอักเสบเฉียบพลันเร็วขึ้น (BBC, 2560) โดยกระบวนการจะแสดงให้เห็นดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 บุหรี่ไฟฟ้า ทำลายกระบวนการ กลไกการป้องกันของปอด
ที่มา: https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/ajplung.00081.2021
จากภาพที่ 1 พบว่า เมื่อกลไกการป้องกันของปอด ถูดทำลาย จะทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ่ นั้นหมายความว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่เราเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวเราได้ง่ายขึ้น โอกาสที่จะป่วยจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือ เสียสุขภาพเรื้อรัง เสียเวลาพบแพทย์ เสียค่ารักษาพยาบาลของตัวเอง หรือคนในครอบครัว จากควันบุหรี่มือสอง จากเหตุดังกล่าว ยังไม่รวมการต้องสื่ออุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้ามาสูบ
เคยมีคนกล่าวว่าบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูกกว่า แต่จากส่วนที่กล่าวมาท้ายที่สุดผลกระทบด้านสุขภาพ กับเงินทองที่เสียไป อาจกล่าวได้ว่าความเสียหายจาก “บุหรี่ไฟฟ้าไม่แตกต่างจากบุหรี่ธรรมดาเลย” เราเลยคิดว่าท้ายที่สุดผลกระทบก็ไม่แตกต่างกัน แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า บุหรี่ไฟฟ้าที่เราสูบเข้าไปคือสิ่งที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับ “แอปเปิ้ลที่มีรูปลักษณ์สวยงามแต่อาบยาพิษ หากได้ลองทานไปก็จะนิทราตลอดชีวิต”
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- ผู้เขียน นายเรวัต ยิ้มวิไล เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน โครงการส่งเสริมสร้างเสริมสุขภาพแรงงานในสถานประกอบการ
- ผู้ตรวจทานเนื้อหา นายนโคทร ศรีจันทร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน โครงการส่งเสริมสร้างเสริมสุขภาพแรงงานในสถานประกอบการ
อ้างอิง
- มติชน. (2565). (หมอระบบหายใจ ไขข้อข้องใจ “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยจริงหรือ).
จากเว็ปไซด์ https://www.msn.com/th
- BBC. (2560). ชี้บุหรี่ไฟฟ้าทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
จากเว็ปไซด์ https://www.bbc.com/thai/features-45189631
28 เม.ย 2566
25 เม.ย 2566
11 เม.ย 2566