มาแล้วลูกจ๋า (ชุดโกโกวา) คุณพ่อเลิกบุหรี่ ที่หนูอยากได้

Last updated: 11 ก.พ. 2565  |  822 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาแล้วลูกจ๋า (ชุดโกโกวา) คุณพ่อเลิกบุหรี่ ที่หนูอยากได้

 “หนูอยากให้พ่อเลิกบุหรี่” ความในใจจากลูกๆ ที่หวังอยากให้พ่อหยุดสูบบุหรี่ ด้วยรักและห่วงใยเป็นห่วงผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพที่จะตามมา ไม่ใช่แค่เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่เท่านั้น แต่ผลกระทบนั้นส่งผลไปยังคนในครอบครัวและคนรอบข้างด้วย

ในควันบุหรี่มีสารนิโคติน

สารนิโคติน เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง และมะเร็งเป็นหนึ่งในโรคร้ายคร่าชีวิตให้ถึงแก่ความตายได้ซึ่งกลายเป็นปัญหาหลักในการสูญเสียประชากรที่ดีมีคุณภาพของประเทศไป นอกจากโรคมะเร็งก็ยังมีโรคร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากควันบุหรี่ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง อีกทั้งการสูบบุหรี่ในระยะยาวยังเพิ่มความถี่ความรุนแรงให้กับอาการหอบหืด และภาวะการตายฉับพลันในทารกแรกเกิด ได้อีกด้วย

ลูกเราและคนรอบข้างมีโอกาสได้รับสารตกค้างจาก ควันบุหรี่หรือไม่

      มีแน่นอนเพราะควันบุหรี่มือสามซึ่งเป็นสารตกค้างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยตกค้างตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ตุ๊กตา พรม โซฟา ผ้าม่าน ที่นอน หรือช่องแอร์ เป็นต้น อธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ ควันบุหรี่ที่ติดอยู่ตามสถานที่ที่มีคนมาสูบบุหรี่และทิ้งร่องรอยของสารพิษตกค้าง อนุภาคละอองไอสารเคมีที่เป็นพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งไว้ให้เรา แม้ควันเหล่านั้นจะจางหายไปในอากาศแล้วก็ตาม แต่อนุภาคตกค้างนั้นยังส่งผลต่อการสัมผัสในปริมาณน้อยแต่ระยะเวลายาว ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะสารพิษจากควันบุหรี่มือสามเป็นชนิดที่ไม่ต่างกันกับควันบุหรี่มือหนึ่งและมือสองทั้งหมด ที่ประกอบไปด้วยสารก่อมะเร็งกว่า 200 ชนิดด้วยกัน

        จากการศึกษายังพบว่าใน 75 ครอบครัวมีเด็กที่ตรวจพบสารโคตินินในปัสสาวะเด็กสูงกว่าปกติ ซึ่งโคตินิน คือตัวบ่งชี้ถึงการที่ร่างกายได้รับสารนิโคตินจากบุหรี่ คาดว่าไม่ได้มาจากการเดินผ่านควันบุหรี่แล้วสูดดมเข้าไป แต่เป็นการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ โดยอัตราที่ตรวจพบนั้นอยู่ที่ 42% ของ 75 ครอบครัว

 
แค่เลิกบุหรี่ยังไม่พอ

     แม้คุณพ่อจะเลิกบุหรี่ได้แล้ว แต่สารพิษจากควันบุหรี่จะยังคงตกค้างอบอวลอยู่ในบ้านได้นานกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้น โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ จึงควรจะต้องมีการทำความสะอาดสถานที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดพื้นที่ผิวสัมผัสต่างๆ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงการระบายอากาศภายในบ้านด้วยเช่นกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

---------------------------------------------------------------------

เขียนโดย
นางสาวสายธารา สมคิด
เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานโครงการฯ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้