Last updated: 10 ต.ค. 2565 | 2421 จำนวนผู้เข้าชม |
สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่ มักมีผู้บริหารและคณะทำงานควบคุมการสูบบุหรี่ ที่มีแรงบันดาลใจและมีความตั้งใจในการควบคุมการสูบบุหรี่ในที่ทำงาน เรื่องจากมีแรงจูงใจทางด้านต่างๆ เช่น ห่วงสุขภาพของพนักงาน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของหน่วยงาน ต้องการป้องกันอัคคีภัย ฯลฯ ผู้บริหารเหล่านี้ มีการดำเนินงานด้านการควบคุมการสูบบุหรี่อย่างจริงจัง นำมาซึ่งความสำเร็จในการควบคุมการสูบบุฟรี่ในที่สุด โดยแรงจูงใจต่อการควบคุมการสูบบุหรี่มีดังนี้
1. บุหรี่มีผลต่อสุขภาพ ค่าใช้จ่าย และคุณภาพชีวิตของพนักงาน
การดูแลให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี ไม่มีปัญหาด้านการเงิน เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารที่มีภูมิหลังเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตั้งใจควบคุมการสูบบฟรี่ในที่ทำงานอย่างจริงจัง
2. บุหรี่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตขององค์กร
การดูแลให้พนักงานมีสุขภาวะที่ดี มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย มีเกียรติและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ทำให้มีความสุขในการทำงาน และภาคภูมิใจในหน่วยงาน นลฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลผลิตของสถานประกอบการนั้นๆและนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพหรือสมรรถนะของสถานประกอบการในการแข่งขันในที่สุด
3. บุหรี่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของสถานประกอบการ
การควบคุมการสูบบุหรี่ของพนักงานในสถานประกอบการ ยังส่งผลให้คนทำงานมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยโดยง่ายทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังลดผลกระทบจากการลาป่วยหรือขาดงาน
4. การสูบบุหรี่ในที่ทำงานทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะอัคคีภัยที่เกิดจากก้นบุหรี่ที่ทิ้งโดยพนักงาน
5. การสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานด้วยการควบคุมการสูบบุหรี่ มีผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร จากการที่สถานประกอบการมีการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะต่อพนักงานตนเอง (CSR ด้านการปฏิบัติต่อแรงงานในสถานประกอบการ Labor Practice)
6. สถานประกอบการมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่จากการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะและที่ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชยทั่วประเทศ
7. แรงจูงใจอื่นๆ
เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างพนักงานที่สูบและไม่สูบบุหรี่ หรือมีการเรียกร้องเกี่ยวกับควันบุหรี่ รวมทั้งการที่บริษัทจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อให้สามารถจำหน่ายหรือส่งออกสินค้าได้ เช่น ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) หรือ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต (HACCP : Hazard Analysis Critical Control Point) รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน มอก.18000 มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย หรือ มาตรฐาน ISO26000 หรือ CSR DIW เป็นต้น
ข้อมูลจาก คู่มือถอดรหัสสถานประกอบการปลอดบุหรี่ (ฉบับย่อ) สามารถดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี้
27 ก.ย. 2565
21 ก.ย. 2565
19 ต.ค. 2565
21 ก.พ. 2566